วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ดอกดาวเรือง



                              ดาวเรือง
 
ชื่อวิทยาศาสตร์  : Tagets spp.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE
ชื่อสามัญ : Marigolds
ชื่ออื่นๆ : ดาวเรือง
ถิ่นกำเนิด : ประเทศเม็กซิโกอเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดปักชำยอด

ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            ดาวเรืองมีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก ต่อมามีผู้นำเข้าไปปลูกในยุโรป เนื่องจากเป็นไม้ที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย อีกทั้งดอกมีความสวยงาม  จึงเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย ใช้เป็นดอกไม้หน้าแท่นบูชาพระนางแมรี  และเนื่องจากดอกดาวเรืองดั้งเดิมมีเพียงสีเดียวคือ สีเหลือง จึงเรียกชื่อไม้ดอกชนิดนี้ว่า Mary's gold ต่อมาจึงเพี้ยนไปเป็น Marigolds นอกจากดาวเรืองจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้กระถางแล้วยังใช้ประโยชน์เป็นพืชสีโดยใช้เป็นสีย้อมผ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ  และในปัจจุบันยังใช้ดอกดาวเรืองผสมในอาหารสัตว์เป็นอาหารเสริมอีกด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ดาวเรืองเป็นไม้ดอกต้นสูง 25-60 ซม. ใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม ขอบหยัก ดอกเป็นช่อกระจุกเดี่ยวที่ปลายยอด  ดอกวงนอกกลีบดอกเป็นรูปรางน้ำ โคนเป็นหลอดเล็ก ปลายแผ่  ดอกวงในกลีบดอกเป็นหลอดมีหลายสี เช่น สีส้ม เหลืองทอง ขาว และสองสีในดอกเดียวกัน และมีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน  พันธุ์ที่ใช้ปลูก  เช่น  Panther , Red Brocade , Dusty Rust , Midas Touch , Matador , Petite Gold

                                                 

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559

ดอกบัว



ประวัติทั่วไป: ดอกบัวเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศเวียดนาม และประเทศอียิปต์ จึงทำให้มีสัญลักษณ์รูปดอกบัวมากมายเขียนไว้บนผนังหลุมศพ และ ศาสนสถานในประเทศอียิปต์ เพื่อเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ เนื่องจากลักษณะเฉพาะตัวของดอกบัว ที่จะบานเมื่อได้เวลาพระอาทิตย์ขึ้น และจะหุบเมื่อดวงอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า ดอกบัวยังถือว่าเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิตามความเชื่อของศาสนาพุทธ และ ศาสนาฮินดู ดูได้จากรูปเขียนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มักจะอยู่ในอิริยาบทถือดอกบัว หรือไม่ก็ทรงประทับอยู่ในดอกบัว ด้วยเหตุนี้ เอง จึงทำให้ท่านั่งไขว้ขาของโยคะ จึงถูกเรียกว่า ท่าดอกบัว


นอกจากนี้ ดอกบัวยังถือว่าเป็นดอกไม้แห่งความอ่อนเยาว์ และอายุยืน  อายุรเวทของอินเดียใช้กลีบดอกบัวเป็นยาทำให้ผิวพรรณ กลับมาอ่อนเยาว์และผ่องใส ขณะที่ชาวจีนต้มชาดอกบัวเพื่อบำรุงสุขภาพ ดอกบัวมีคุณสมบัติ บำรุงร่างกาย และ ทำให้จิตใจสงบ มีการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ ในสมัยปัจจุบัน ว่าดอกบัวมีสารที่สามารถป้องกันผมขาวได้อีกด้วย
ดอกบัวให้สัมผัสที่อบอุ่นแบบตะวันออก กลิ่นหอมของมันนั้นมีผลต่อจิตใจประหนึ่งดวงอาทิตย์ขึ้น  มีการอ้างอิงว่าชาวอียิปต์หมักดอกบัวในไวน์ เพื่อใช้เป็นยาหลอนประสาท
ดอกบัวแต่ละสีมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ดอกบัวสีฟ้าหมายถึงความฉลาดปราดเปรื่อง  ดอกบัวสีแดงหมายถึงความรัก ดอกบัวสีขาว ซึ่งถือว่าเป็นดอกบัวที่มีกลิ่นหอมที่สุด มีความหมายถึงความบริสุทธิ์ นอกจากนี้ กลิ่นอายศักดิ์สิทธิของดอกบัวนั้น ยังมีความหมายใหม่ๆเพิ่มเข้ามาด้วย ว่าเป็น “กลิ่นแห่งสรวงสวรรค์”

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Nelumbo nucifera
ชื่อวงศ์:  NYMPHACACEAE
ชื่อสามัญ:  Lotus, Sacred lotus, Egyptian
ชื่อพื้นเมือง:  บุณฑริก ปุณฑริก  ปทุม ปัทมา โกกระณต สัตตบุษย์  บัวฉัตรขาว   สัตตบงกช   บัวฉัตรชมพู   โช้ค  บัวอุบล
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
    ต้น  ไม้โผล่เหนือน้ำ อายุหลายปี ลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้าใต้ดิน และเป็นไหลเหนือดิน ใต้น้ำ
    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงสลับ  ใบรูปไข่ค่อนช้างกลม ขนาด 15-40 เซนติเมตร ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวและมีนวลเคลือบ ก้านใบกลมเรียวแข็งส่งใบให้เจริญที่ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ มีหนามเป็นตุ่มเล็กๆ ภายในก้านใบมีน้ำยางใสเมื่อถูกอากาศเป็นสีคล้ำ
    ดอก  สีชมพู ขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ก้านดอกสีเชียว อวบกลมส่งดอกชูขึ้นเหนือน้ำ  กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ มีทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและกลีบดอกซ้อนกัน  มีเกสรตัวผู้จำนวนมากติดอยู่รอบฐานรองดอกที่บวมขยายใหญ่ หุ้มรังไข่ไว้ภายในเรียกว่า   "ฝักบัว"   ดอกบานเต็มที่กว้าง 20-25 เซนติเมตร บัวหลวงมีหลายพันธุ์มีชื่อเรียกต่างกันไปตามขนาดและลักษณะชองดอกคือ   
                    ดอกเล็กสีขาว เรียก บัวปักกิ่งขาว บัวหลวงจีนขาว บัวเข็มขาว
                    ดอกเล็กสีชมพู เรียก บัวปักกิ่งชมพู บัวหลวงจีนชมพู บัวเข็มชมพู
                    ดอกสีขาว เรียก บุณฑริก ปุณฑริก
                    ดอกสีชมพู เรียก ปทุม ปัทมา โกกระณต
                    ดอกสั้นป้อมสีขาวกลีบซ้อน เรียก บัวสัตตบุษย์ บัวฉัตรขาว
                    ดอกสั้นป้อมสีชมพูกลีบซ้อน เรียก บัวสัตตบงกช บัวฉัตรสีชมพู